ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการนำระบบ VMS มาใช้งานในการติดตามเรือประมง ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป แล้วทราบกันไหมครับว่า ระบบ VMS คืออะไร จริง ๆ แล้วมีประโยชน์ทางด้านใดบ้าง? วันนี้ VMS Thailand มีคำตอบ
สารบัญ

VMS ดีอย่างไร ทำไมต้องติดตั้ง?
ยกตัวอย่างกรณีข่าว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 เวลา 16.00 น. ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงชลบุรี (ศูนย์ (PIPO : Port In – Port Out) ได้รับแจ้งจากเจ้าของเรือประมง เรือมิตรทวี ว่าไต๋เรือวิทยุขอความช่วยเหลือด้วยเกิดเหตุฉุกเฉินลูกเรือป่วยหนัก หายใจไม่ออก แต่เจ้าของเรืออยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่ทราบตำแหน่งเรือ เพราะสัญญาณวิทยุขาดหายไม่ชัดเจน เนื่องจากขณะนั้นคลื่นลมกำลังแรงมาก คลื่นสูงประมาณ 3 เมตร
เจ้าของเรือจึงใช้วิธีแจ้งตำแหน่งเรือจาก ระบบติดตามเรือ VMS (Vessel Monitoring System) ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงชลบุรี ทราบ โดยเรือเอก คณิตศร ผาสุขสรรพ์ ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงชลบุรี ได้รายงานศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 ทันที
ศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 ได้สั่งการให้เรือหลวงคีรีรัฐ ซึ่งทำการลาดตระเวนในพื้นที่ ให้เข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนตามพิกัดของเรือมิตรทวีที่ได้รับจากระบบ VMS พร้อมประสานรถพยาบาล จากโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้รอรับลูกเรือ เพื่อรับการรักษาได้ทันเวลาจนรอดชีวิตและปลอดภัยในที่สุด ด้วยเหตุนี้ VMS จึงมีความสำคัญ และจำเป็นจะต้องติดตั้งเพื่อจะได้รู้พิกัดของเรือได้ตลอดเวลา

ประโยชน์ของ VMS
นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุบนเรือดังข่าวที่กล่าวไปเมื่อข้างต้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนี้
1. การติดตามเรือ
เจ้าของเรือสามารถติดตามและทราบตำแหน่งที่อยู่ของเรือประมงได้ตลอดเวลาผ่าน ระบบติดตามเรือ VMS หากเกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เรือจม เครื่องยนต์เสียหาย ถูกปล้นกลางทะเล หรือมีเหตุให้ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เจ้าของเรือจะสามารถทราบได้ทันที โดยจะแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เรือประมงได้รับการค้นหาและช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว เป็นการช่วยชีวิตและนำทรัพย์สินต่าง ๆ บนเรือให้ปลอดภัยได้ในที่สุด
2. ควบคุมเส้นทางเดินเรือ
ข้อมูลเส้นทางเดินเรือสามารถนำมาวางแผนการทำประมงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เช่น
- หลีกเลี่ยงการทำประมงในพื้นที่ต้องห้าม
- หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น การเกิดคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหว หรือเกิดพายุคะนองรุนแรง เป็นต้น
- ช่วยให้ทราบพฤติกรรมของผู้ควบคุมเรือ ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนงานได้
- วางแผนเส้นทางเดินเรือเพื่อประหยัดน้ำมัน
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง เป็นการใช้เรืออย่างคุ้มค่าและปลอดภัย
3. การป้องกันปัญหาการทุจริต
เมื่อมีการแสดงตำแหน่งของเรือได้ตลอดเวลา ทำให้ทราบว่ามีการเดินเรือตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ มีลักษณะของการเดินเรือที่ออกนอกเส้นทางหรือไม่ การส่งหรือรับสินค้าตรงตามกำหนดที่ต้องการหรือไม่ จึงทำให้บริหารจัดการการเดินเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายและค่าเสียเวลาโดยไม่จำเป็นได้
4. ใช้เป็นหลักฐาน
ในกรณีที่เรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่ทางราชการมิอาจปฏิเสธได้ เพื่อรับการชดเชยจากภาครัฐ เช่น ค่าเรือจม ค่ากู้เรือ และค่าซ่อมเรือ เป็นต้น
5. ดำเนินกิจการตามกฎหมาย
การทำประมงอย่างรับผิดชอบและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยอาศัยระบบบันทึกติดตามเรือ VMS นั้น ถือเป็นหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ที่สำคัญของกิจการเดินเรือ โดยเฉพาะในกรณีที่ถูกจับกุมในข้อหารุกล้ำน่านน้ำ และข้อมูลจากระบบติดตามตำแหน่งเรือจะเชื่อมโยงกับระบบสมุดบันทึกการทำการประมงอิเล็กทรอนิกส์ (E-Logbook) จึงช่วยเสริมประสิทธิภาพในการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
6. ยกระดับการทำประมงไทยสู่มาตรฐานสากล
ให้เป็นไปตามหลัก “การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเล”

จะติดตั้ง VMS ได้อย่างไร?
ผู้ประกอบการกิจการเรือประมง ติดต่อบริษัทผู้จำหน่ายและติดตั้ง VMS เพื่อทำการติดตั้งอุปกรณ์ โดยสามารถดูขั้นตอนและเอกสารสำคัญที่ใช้ในการติดตั้ง VMS ได้ที่ ขั้นตอนการติดตั้ง VMS

VMS คืออะไร?
VMS คือ ระบบติดตามตำแหน่งเรือ ที่อาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในการรับ-ส่งสัญญาณจากดาวเทียม และศูนย์รับสัญญาณบนฝั่ง เพื่อประโยชน์ในการทราบและติดตามตำแหน่งเรือ
โดยกำหนดให้เรือประมง เรือบรรทุกสินค้า ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมงขนถ่าย หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ขึ้นไป ที่ออกทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System: VMS) และดูแลรักษาระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงในพื้นที่ครอบคลุม ๒๒ จังหวัดชายฝั่งทะเล โดยขบวนการทำงานระบบจะทำการรายงานข้อมูลมาที่ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ซึ่งเจ้าของเรือสามารถติดตามดูได้เฉพาะเรือหรือกลุ่มเรือของตนเองเท่านั้น โดยสามารถติดตามผ่านโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต ได้
ด้วยข้อดีต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้การนำ ระบบ VMS มาใช้งานในธุรกิจการขนส่งทางเรือ จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เรือและสินค้าของผู้ประกอบการมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอีกด้วย สนใจติดตั้ง VMS หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ VMS Thailand ระบบติดตามเรือที่ดีที่สุดในไทย

สรุป
VMS คือ ระบบติดตามตำแหน่งเรือ ที่อาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการรับ-ส่งสัญญาณจากดาวเทียม และศูนย์รับสัญญาณบนฝั่ง เพื่อประโยชน์ในการทราบและติดตามตำแหน่งเรือ
ช่วยให้ทราบตำแหน่งและสถานะต่างๆ ของเรือ สามารถวางแผนควบคุมเส้นทางการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงการทำประมงในพื้นที่ต้องห้ามและพื้นที่เสี่ยงภัย อีกทั้งยังทราบพฤติกรรมของผู้ควบคุมเรือ ช่วยวางแผนเส้นทางเดินเรือเพื่อประหยัดน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
เริ่มจากแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าหลักของเรือ ต่อไปยัง เครื่องสำรองไฟ แล้วต่อไปยังอุปกรณ์ VMS เพื่อบันทึกข้อมูลการรับส่งสัญญาณและสถานะต่างๆ ของเรือ ซึ่งในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟหลักของเรือดับหรือขัดข้อง เครื่องสำรองไฟ จะจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนาน 30 วัน ระบบติดตามเรือ VMS จึงสามารถทำงานได้อย่างปกติ
เรือประมง เรือบรรทุกสินค้า ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมงขนถ่าย หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ขึ้นไป ต้องดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง VMS และดูแลรักษาระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ติดต่อบริษัทผู้จำหน่ายและติดตั้ง VMS เพื่อทำการติดตั้งอุปกรณ์ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @vmsthailand | โทร. 02 052 4466
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ภาพข่าวจาก: sanook.com