สำหรับเรือประมงที่ต้องติดตั้ง ระบบติดตามเรือ VMS วันนี้ VMS Thailand มี ขั้นตอนการติดตั้ง VMS ง่าย ๆ และวิธีปฏิบัติเมื่ออุปกรณ์ติดตามเรือประมง VMS ขัดข้อง รวมถึงการดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง VMS ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลามาฝากกันครับ
สารบัญ
- เรือประมงพาณิชย์ที่ต้องติดตั้ง ระบบติดตามเรือประมง VMS
- การยื่นเอกสารการติดตั้ง อุปกรณ์ติดตามเรือประมง VMS
- ข้อปฏิบัติเมื่ออุปกรณ์ติดตามเรือประมง VMS ขัดข้อง
- การดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง VMS ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ก่อนที่จะไปถึง ขั้นตอนการติดตั้ง VMS ทราบไหมครับว่า เรือประมงที่จำเป็นต้องติดตั้งระบบติดตามเรือ VMS นั้น คือเรือประมงขนาดเท่าไร?
เรือประมงพาณิชย์ที่ต้องติดตั้ง ระบบติดตามเรือประมง VMS
เรือประมงพาณิชย์ ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอส ขึ้นไป จำเป็นต้องติดตั้งระบบติดตามเรือ VMS ตามประกาศจากกรมประมง โดยให้เจ้าของเรือติดต่อกับ บริษัท ผู้ให้บริการระบบ VMS ที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนต่อกรมประมง เพื่อทำการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเรือประมง VMS

การยื่นเอกสารการติดตั้ง อุปกรณ์ติดตามเรือประมง VMS
- ภายหลังติดตั้ง อุปกรณ์ VMS แล้วเสร็จ ให้ยื่นเอกสารการติดตั้งอุปกรณ์ โดยระบุตำแหน่งเรือ (แบบ ศฝป.1) ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทำประมง (FMC) ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้ทำการติดตั้ง
- เจ้าของเรือแจ้งศูนย์ PIPO เพื่อทำการล็อกตรึงอุปกรณ์ VMS ภายใน 24 ชั่วโมง นับจากวันที่ได้ทำการติดตั้ง
- ช่องทางการยื่นเอกสาร แบบ ศฝป.1
- ยื่นด้วยตนเอง ทางไปรษณีย์ หรือมอบหมายให้บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการระบบ VMS ดำเนินการแทน
- ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง (FMC)
กรมประมง เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกรุงเทพฯ
โทร. 0 2562 0600 ต่อ 4400 โทรสาร 0 2558 0209
E-Mail: [email protected] - ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) หรือจุดตรวจเรือประมงส่วนหน้า (FIP) ในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล

ข้อปฏิบัติเมื่ออุปกรณ์ติดตามเรือประมง VMS ขัดข้อง
เมื่อเจ้าของเรือได้รับแจ้งจากพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ FMC ทางข้อความ SMS และทางโทรศัพท์ ด้วยเหตุไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือ VMS ให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือปฏิบัติดังนี้
- เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือ ตรวจสอบระบบ VMS ที่ติดอยู่กับเรือประมงหากพบข้อขัดข้อง ให้แจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SFB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0KHz ช่องรองความถี่ 6290.0KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ต่อศูนย์ PIPO ทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง
- เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือ ดำเนินการแก้ไขให้ระบบ VMS สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.7.1 และ ศฝป.7.2) ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
- กรณีที่เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือไม่สามารถแก้ไขให้ระบบ VMS กลับมาใช้งานได้ภายใน 4 ชั่วโมง นับจากที่ได้รับแจ้งจากศูนย์ FMC ให้นำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าทันที กรณีเรือประมงที่ติดตั้งระบบ VMS รุ่นที่ 2 ที่มิใช่เหตุขัดข้องที่เกิดจากระบบไฟ หากไม่สามารถแก้ไขให้ระบบ VMS กลับมาใช้งานได้ภายใน 12 ชั่วโมง นับจากที่ได้รับแจ้งจากศูนย์ FMC ให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที
- เมื่อเข้าเทียบท่าแล้วให้ส่งใบรายงานตำแหน่งเรือ กรณีระบบ VMS ขัดข้อง ตามแบบ ศฝป. 7.1 และ ศฝป. 7.2 ต่อศูนย์ PIPO
- ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ PIPO หากไม่สามารถส่งสัญญาณ VMS ได้ ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที

การดูแลรักษาระบบติดตามเรือ VMS ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
นอกจากหมั่นตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ VMS สม่ำเสมอแล้ว การติดตั้ง เครื่องสำรองไฟ สำหรับ อุปกรณ์ติดตามเรือ VMS ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยสำรองไฟและจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังหัว VMS ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าบนเรือขัดข้อง ระบบติดตามเรือ VMS จะยังสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยทาง VMS Thailand มีเครื่องสำรองไฟ สำหรับอุปกรณ์ VMS มาแนะนำซึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง นานกว่า 30 วัน ทำให้ชาวประมงมีเวลามากขึ้นในการแก้ไขระบบไฟฟ้าภายในเรือให้เป็นปกติ แทนที่จะถูกกรมประมงเรียกเรือกลับภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากได้รับแจ้ง
อีกทั้ง เครื่องสำรองไฟ ยังถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาคุณภาพของไฟฟ้าได้ เช่น ไฟดับ ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความเสียหายที่รุนแรงต่อระบบติดตามเรือ VMS ได้ ดังนั้น เครื่องสำรองไฟจึงมีความจำเป็นสำหรับอุปกรณ์ติดตามเรือ VMS เพราะนอกจากจะช่วยสำรองไฟฟ้าไว้ใช้ในยามฉุกเฉินแล้ว ยังช่วยป้องกันความเสียหายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้
*สนใจติดตั้ง VMS และ เครื่องสำรองไฟ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line: @vmsthailand หรือ โทร. 02 052 4466
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก: คู่มือชาวประมงพาณิชย์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์