ส่วนใหญ่การทำประมงพาณิชย์จะผูกพันกับกองเรือประมงที่จับปลาโดยใช้อวนลาก เบ็ดราวทะเลลึก หรืออวนลอย ซึ่งยังมีข้อกำหนดและรายละเอียดต่าง ๆ อีกมากมายที่ ชาวประมงมือใหม่ต้องรู้ และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเอง วันนี้ VMS Thailand จึงได้รวบรวมข้อมูลที่ชาวประมงจำเป็นจะต้องรู้มาฝาก จะมีอะไรบ้าง ตามไปอ่านกันในบทความได้เลยครับ
สารบัญ
ความสำคัญของการทำประมง
คุณสมบัติของคนที่จะทำประมงพาณิชย์
คุณสมบัติของเรือที่จะทำประมงพาณิชย์
คู่มือชาวประมงพาณิชย์
เคล็ดลับสำหรับชาวประมงมือใหม่
สรุป
ความสำคัญของการทำประมง
การทำประมง คือการจับปลาหรือสัตว์น้ำต่าง ๆ ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เริ่มด้วยการทำประมงเพื่อยังชีพ สันทนาการ ไปจนถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่าง ๆ จนก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ จากภูมิปัญญาที่สั่งสมมาจากการเรียนรู้จากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระแสน้ำ ฤดูกาล ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงตามดวงจันทร์ รวมไปถึงการเรียนรู้วิถีชีวิตและวงจรชีวิตของกุ้ง หอย ปู ปลา เทคนิค เครื่องมือ และศิลปะในการทำการประมง จนในปัจจุบันสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกเพียบ เช่น การนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาหรืออาหารเสริม และการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เป็นต้น
โดยทั่วไปการทำประมงจะเป็นการประมงทางทะเลมากกว่าน้ำจืด โดยจะทำอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล เพราะสามารถทำการเก็บผลผลิตในน้ำตื้นบริเวณชายฝั่งได้ง่ายกว่าบริเวณน้ำลึก และบริเวณชายฝั่งมักมีสัตว์น้ำชุกชุม เนื่องจากคลื่นได้ซัดพาสารอาหารต่าง ๆ มายังชายหาดจำนวนมาก นอกจากการจับสัตว์น้ำที่มีอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ แล้ว การประมงยังหมายรวมถึงการเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการจำลองธรรมชาติขึ้นมา เพื่อให้มนุษย์เราสามารถผลิตสัตว์น้ำให้พอเพียงกับความต้องการบริโภคที่นับว่าจะขยายตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารอีกด้วย ดังนั้น การทำประมงจึงมีความสำคัญมาก โดยสามารถยกประเด็นสำคัญขึ้นมาได้ 3 ประเด็นหลักดังนี้
- เศรษฐกิจ : การทำประมงถือเป็นอุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้กับหลาย ๆ ประเทศ ในการส่งออกสัตว์น้ำที่ได้จากการประมง เพื่อจำหน่ายเป็นอาหารให้แก่อีกหลายประเทศทั่วโลก เมื่ออุตสาหกรรมประมงขยายตัวมากขึ้น เกิดเป็นฟาร์มที่ผลิตสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยมีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำจนเกิดความหลากหลาย และมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
- สุขภาพ : เนื่องจากสัตว์น้ำส่วนใหญ่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ ดังนั้น อาหารหรือยาที่มีส่วนผสมมาจากสัตว์น้ำ จึงช่วยให้มนุษย์เรามีสุขภาพที่ดีมากขึ้นด้วย
- การจ้างงาน : การทำประมงช่วยสร้างงานจำนวนมหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มต้นจากชาวประมงที่จับปลาในทะเล คนงานในตลาดปลา ผู้ขนส่ง พนักงานขายปลาในห้างร้านซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

คุณสมบัติของคนที่จะทำประมงพาณิชย์
มีสิทธิทำประมงในน่านน้ำไทย
มีกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครองในเรือประมงที่จะขอรับใบอนุญาต
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ม.39
- ไม่เป็นผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดร้ายแรงตามกฏหมายประมง (หากเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดต้องพ้น 5 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ถึงวันยื่นคำขอ)
- ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตทำการประมง (นับตั้งแต่วันยื่นคำขอ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563)
- ไม่เป็นผู้ที่อธิบดีมีคำสั่งริบสัตว์น้ำ/ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ/เครื่องมือการทำประมง/กักเรือ (หากเป็นผู้เคยถูกคำสั่งต้องพ้น 2 ปี นับแต่วันได้รับคำสั่ง ถึงวันที่ยื่นคำขอ)
- ไม่เป็นผู้ที่อธิบดีสั่งห้ามทำการประมง (นับแต่วันที่รับคำสั่ง และยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563)
- ไม่เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมงจากการทำผิดกฎหมายว่าด้วยการประมง (หากเคยถูกเพิกถอนต้องพ้น 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
- ไม่เป็นผู้ที่รัฐต่างประเทศ/องค์กรระหว่างประเทศแจ้งเป็นหนังสือว่าเป็นผู้อยู่ถูกพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมง
- ไม่เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตมาแล้ว 2 ครั้ง ในระยะเวลา 5 ปี
คุณสมบัติของเรือที่จะทำประมงพาณิชย์
1. ประเภทการใช้ทำการประมง หรือทำการประมง (ปั่นไฟ)
2. เป็นเรือประมงไทย หรือเรือประมงต่างประเทศที่มีสิทธิในการทำประมงในน่านน้ำไทย
3. ขนาดของเรือ
- เรือตั้งแต่ 10 ตันกรอส ขึ้นไป
- เรือขนาดต่ำกว่า 10 ตัสกรอส แต่มีกำลังแรงม้าตั้งแต่ 280 แรงม้า ขึ้นไป
- เรือขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์รอบปีการประมง 2561-2562
- เรือขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอส ขึ้นไป และต้องติดตั้ง ระบบติดตามเรือ (VMS)
VMS คือ ระบบติดตามตำแหน่งเรือ ที่อาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในการรับ-ส่งสัญญาณจากดาวเทียมและศูนย์รับสัญญาณบนฝั่ง เพื่อประโยชน์ในการติดตามตำแหน่งเรือ และยังมีประโยชน์อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ VMS คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?

4. ไม่เป็นเรือที่ถูกประกาศว่าเป็นเรือที่ถูกใช้ทำการประมงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (แบบ List)
5. มีหนังสือรับรองสุขอนามัยเรือประมง (สร.3) ยกเว้นเรือปั่นไฟที่ไม่ได้ใช้เครื่องมืออื่น หรือเรือคู่ลาก (เรือหู) ที่ไม่เก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือ
6. ไม่อยู่ในกลุ่มเรือที่ถูกนำออกนอกระบบ (ควบรวม แลกเปลี่ยน หรือโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ)
*หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มทะเบียนและอนุญาตทำการประมงกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ โทร. 02-2561-1418
คู่มือชาวประมงพาณิชย์
สำหรับชาวประมงทั้งรายเก่าและรายใหม่ จำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายในการทำประมงพาณิชย์ และด้วยความห่วงใยชาวประมงที่อาจไม่รู้กฎหมายและหลักเกณฑ์ปฏิบัติต่าง ๆ จนอาจก่อให้เกิดการกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กรมประมง จึงได้แปลความจากภาษากฎหมายให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่ายสำหรับชาวประมง โดยได้จัดทำ “คู่มือชาวประมงพาณิชย์” ซึ่งเป็นคู่มือฉบับแรกที่ผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวประมง โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเข้า – ออก ท่าเทียบเรือของเรือประมง (PIPO)
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง (VMS) ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลการทำการประมง (Fishing Logbook)
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำสัตว์นน้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคนประจำเรือ สำหรับคนต่างด้าว (Seabook)
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง
- เขตทะเลชายฝั่ง
- มาตรการปิดอ่าวและเครื่องมือที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง
- ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงพาณิชย์
สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ คู่มือชาวประมงพาณิชย์
เคล็ดลับสำหรับชาวประมงมือใหม่
อยากเป็นชาวประมงต้องทำอย่างไร?
- อันดับแรกคือความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำการประมง เพราะการประมงนั้นจะต้องใช้เวลาในการศึกษาและรอคอย จึงต้องเป็นคนที่มีความอดทน ดังนั้น อยากให้ลองถามใจตัวเองให้ถ้วนถี่ว่าพร้อมที่จะรอคอยหรือไม่
- เรียนรู้เทคนิคและรู้จักเครื่องมือในการทำมาหากิน เพราะในแต่ละปีมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งหากเราเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อาจทำให้การทำประมงเป็นเรื่องง่ายขึ้น
- ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำต่าง ๆ เพื่อจะได้วางแผนการเลี้ยงหรือแผนการจับได้อย่างเหมาะสม เพราะในแหล่งน้ำมีสัตว์น้ำมากมายหลายชนิด ที่มีความยากในการจับแตกต่างกันไป
- รู้จักแหล่งในการหาปลาหรือสัตว์น้ำที่เราจะทำการประมง เพราะแหล่งที่เราเก็บเกี่ยวผลผลิตมีผลต่อรายได้อย่างชัดเจน หากเลือกทำเลผิด รายได้ก็หายไปทันที
เคล็ดลับที่จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวของการทำประมงได้มากยิ่งขึ้น
- เริ่มเรียนรู้การหาปลาโดยติดตามไปกับชาวประมงมืออาชีพสักระยะ
- ศึกษาการตกปลาและทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว
- วางแผนและจัดทำ Checklist ต่าง ๆ
- เข้าร่วมกลุ่มประมงออนไลน์ เกี่ยวกับการทำประมง

สรุป
การทำประมงเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการศึกษาและรอคอย ในช่วงเวลาที่เราเรียนรู้จะทำให้เราเข้าใจตัวเอง และเข้าใจอาชีพประมงมากขึ้น อีกทั้งยังให้ประสบการณ์ที่ล้ำค่า หากมั่นใจว่ารักในอาชีพประมงแล้ว จึงลงมือทำการประมงอย่างจริงจัง และปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเอง เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนด้วย
หากสนใจติดตั้ง ระบบติดตามเรือ VMS สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line : @vmsthailand หรือ โทร. 02 052 4466
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก: กรมประมง และ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)