ปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน คุ้มครองปลามีไข่

ปิดทะเลอันดามัน

กรมประมง ประกาศ ปิดทะเลอันดามัน ใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำวางไข่ ประจำปี 2564 ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2564

สารบัญ

ประกาศ ปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ นายเกียรติศักดิ์ เกษมพันธุ์กุล รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดกระบี่ ได้เป็นประธานในพิธีประกาศ ปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน และปล่อยเรือตรวจการณ์ออกลาดตระเวนกวดขันการทำประมงผิดกฎหมาย ตามมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ประจำปี 2564 ฝั่งทะเลอันดามัน

โดยครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืน ตามที่กรมประมงได้มีการประกาศใช้มาอย่างยาวนานกว่า 36 ปี โดยมีการปรับปรุงมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ผลการศึกษาทางวิชาการ เกี่ยวกับมาตรการ ปิดทะเลอันดามัน

จากผลการศึกษาทางวิชาการ ยืนยันว่า มาตรการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน ในปี 2563 ที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์สูง และพบสัตว์น้ำวัยอ่อนมีความชุกชุม แพร่กระจายกันอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคม สูงสุด (690 ตัว/10 ตร.ม.)สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 207,236 ตัน ใน ปี 2560 เป็น 290,035 ตัน ใน ปี 2563 และจากการติดตามเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่อนุญาตให้ทำประมงในพื้นที่มาตรการฯ เช่น อวนกุ้ง และอวนปู พบว่ามีการจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในขนาดที่เหมาะสม

Fishing tool type requirements

ข้อกำหนดชนิดของเครื่องมือประมง และเงื่อนไขที่สามารถทำการประมงในช่วงประกาศใช้มาตรการฯ มีดังนี้

1. เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่

ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร และต้องทำการประมงในเวลากลางคืน นอกเขตทะเลชายฝั่ง

2. เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก

ทำการประมงเฉพาะในเวลากลางวัน และต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

3. เครื่องมืออวนติดตาปลา

  • เครื่องมืออวนติดตาปลา ที่มีขนาดช่องตาอวน ตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตร ขึ้นไป มีความยาวอวนไม่เกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
  • เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตร ขึ้นไป มีความยาวอวนเกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

4. เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก

5. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก

ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

6. ลอบปู

  • ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
  • ลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบ ตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

7. ลอบหมึกทุกชนิด

8. ซั้งทุกชนิด

ที่ใช้ประกอบการทำประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง

9. คราดหอย

คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 18 เมตร มีความกว้างของปากคราดไม่เกิน 3.5 เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า 1.2 เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน 3 อัน (หน่วย) ต่อเรือกล 1 ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2560

10. อวนรุนเคย

โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558

11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น

12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง

13. การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส

ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงอื่นใด โดยเครื่องมือที่ใช้ประกอบต้องไม่เป็นเครื่องมือประมงพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์ พ.ศ.2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 และต้องไม่เป็นเครื่องอวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) และต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ถูกห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมงและพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ.2560 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560

Fishing vessels equipped with VMS

ทั้งนี้ การทำการประมงโดยใช้เครื่องมือในข้อ 3 4 5 6 และ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ลงวันที่  9 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 และจะต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมง ตามมาตรา 67  69 หรือ 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558

หากผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องได้รับโทษทางปกครองอีกด้วย

กล่าวขอบคุณชาวประมงที่ให้ความร่วมมือ

อธิบดีกรมประมง…กล่าวในตอนท้ายว่า “ที่ผ่านมา กรมประมงต้องขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงทุกคนที่ให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐในการปฎิบัติตามกฎหมายในมาตรการ ปิดทะเลอันดามัน จนกระทั่งท้องทะเลค่อยๆฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ผนวกกับข้อมูลของการแพร่กระจายของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่และช่วงเวลาขอแประกาศใช้มาตรการฯ

สรุป

การประกาศ ปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน โดยใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ ประจำปี 2564 ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง จากผลการศึกษาทางวิชาการในปีที่ผ่านๆ มา การใช้มาตรการดังกล่าว จะช่วยฟื้นฟูให้ทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ การดำเนินกิจการประมงโดยปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวมที่พึงปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญสำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ ขึ้นไป จะต้องดำเนินการติดตั้ง ระบบติดตามเรือ VMS เพื่อประโยชน์ในการติดตาม เฝ้าระวัง และวางแผนงานการเดินเรือให้มีประสิทธิภาพ พร้อมติดตั้ง เครื่องสำรองไฟ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ให้พลังงานฉุกเฉินเมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักของเรือไม่ทำงาน จึงมั่นใจได้ว่า ระบบติดตามเรือ VMS ของคุณ จะทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  Line : @vmsthailand หรือ โทร. 02 052 4466

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก: mgronline.com